กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนท่าไม้ไผ่

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนท่าไม้ไผ่
รหัส กองทุน 91990004
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนท่าไม้ไผ่ เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นายสุทัศน์ ชุมดี
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ 12 มกราคม 2545 ได้รับเงินล้าน เมื่อ 20กุมภาพันธ์ 2545
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ - หมายเลข - (ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล)
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี 112 คน (ชาย 22 คน หญิง 90 คน)

การกู้ยืม
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม 60 ราย
จำนวนเงินกู้รวม 250000 บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ 26 ราย เป็นเงิน - บาท (ติดตามข้อมูลไม่ได้)
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ 34 ราย เป็นเงิน - บาท (ติดตามข้อมูลไม่ได้)

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลบางส่วนสูญหาย ติดตามไม่ได้
- สมาชิกไม่ชำระเงิน
- คณะกรรมการมีงานประจำที่ต้องทำ
- ขาดความรู้ด้านบัญชี และการจัดการทั่วไป

ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน
- สร้างจิตสำนึกแก่สมาชิก

อ่านต่อ...

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนคลองเส็นเต็น

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนคลองเส็นเต็น
รหัส กองทุน 91990002
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนคลองเส็นเต็น เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นางสุนีย์ ยีอาร์
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ - ได้รับเงินล้าน เมื่อ - (ข้อมูลติดตามไม่ได้)
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ - หมายเลข - (ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล)
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี - คน (ข้อมูลติตามไม่ได้)

การกู้ยืม (ข้อมูลติดตามไม่ได้)
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม - ราย
จำนวนเงินกู้รวม - บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ - ราย เป็นเงิน - บาท
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ - ราย เป็นเงิน - บาท

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลอยู่ที่ประธานฯคนเก่า ซึ่งพยายามติดตาม แต่ติดตามไม่ได้
- กองทุนฯหยุดดำเนินงาน
- ไม่มีคณะกรรมการที่แน่นอน

ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน

อ่านต่อ...

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนทุ่งเฉลิมฝั่งตะวันตก

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนทุ่งเฉลิมฝั่งตะวันตก
รหัส กองทุน 91990005
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนทุ่งเฉลิมฝั่งตะวันตก เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นางบูญรัตน์ จันทรัศมี
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ 10 กันยายน 2544 ได้รับเงินล้าน เมื่อ 20 กุมภาพันธ์ 2545
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ - หมายเลข - (ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล)
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี - คน (ชาย - คน หญิง - คน)(ข้อมูลสูญหาย)

การกู้ยืม
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม - ราย
จำนวนเงินกู้รวม - บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ - ราย เป็นเงิน - บาท
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ - ราย เป็นเงิน - บาท (ข้อมูลสูญหาย)

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลบางส่วนสูญหาย
- สมาชิกไม่ชำระเงิน
- หยุดดำเนินงานตั้งปี 2548
- มีการยักยอกเงินของกองทุนฯ
- คณะกรรมการลาออก ไม่มีใครสานงานต่อ

ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน

อ่านต่อ...

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนศาลากันตง

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนศาลากันตง
รหัส กองทุน 91990003
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนศาลากันตง เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นางวรรณา ลำแก้ว
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ - ได้รับเงินล้าน เมื่อ - (ข้อมูลสูญหาย)
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ - หมายเลข - (ไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล)
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี 913 คน (ชาย 31 คน หญิง 62 คน)

การกู้ยืม
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม 86 ราย
จำนวนเงินกู้รวม 1310000 บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ 3 ราย เป็นเงิน 35000 บาท
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ 83 ราย เป็นเงิน 1275000 บาท

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลบางส่วนสูญหาย
- สมาชิกไม่ชำระเงิน
- คณะกรรมการมีงานประจำที่ต้องทำ
- ขาดความรู้ด้านบัญชี และการจัดการทั่วไป
- หยุดดำเนินงาน ตั้งแต่ 2548

ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน
- ต้องการดำเนินงานให่อีกครั้ง

อ่านต่อ...

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนวัดชนาธิปเฉลิม

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนวัดชนาธิปเฉลิม
รหัส กองทุน 91990007
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนวัดชนาธิปเฉลิม เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นายเฉลิมพล แท่นประมูล
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ 5 มิถุนายน 2544 ได้รับเงินล้าน เมื่อ 20 กุมภาพันธฺ 2545
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ - หมายเลข - (ยังไม่ได้จดทะเบียนนิติบุคคล)
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี 90 คน (ชาย 32 คน หญิง 58 คน)

การกู้ยืม
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม - ราย
จำนวนเงินกู้รวม - บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ 7 ราย เป็นเงิน 115000 บาท
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ - ราย เป็นเงิน - บาท (ข้อมูลสูญหายบางส่วน)

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลบางส่วนสูญหาย
- สมาชิกไม่ชำระเงิน
- คณะกรรมการมีงานประจำที่ต้องทำ
- หยุดดำเนินงานตั้งแต่ ปี 2548

ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน
- ต้องการดำเนินงานใหม่อีกครั้ง

อ่านต่อ...

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนทุ่งเฉลิมฝั่งตะวันออก

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนทุ่งเฉลิมฝั่งตะวันออก
รหัส กองทุน 91990010
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนทุ่งเฉลิมฝั่งตะวันออก เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นายจรัส ฉันทอุไร
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ 22/9/2545 ได้รับเงินล้าน เมื่อ 1/4/2546
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 30/11/2551 หมายเลข 088
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี 91 คน (ชาย 30 คน หญิง 61 คน)

การกู้ยืม
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม 62 ราย
จำนวนเงินกู้รวม 912800 บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ 11 ราย เป็นเงิน 548000 บาท
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ 51 ราย เป็นเงิน 858000 บาท

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลบางส่วนสูญหาย
- สมาชิกไม่ชำระเงิน
- คณะกรรมการมีงานประจำที่ต้องทำ
- ขาดความรู้ด้านบัญชี และการจัดการทั่วไป

ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน

อ่านต่อ...

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนซอยปลาเค็ม


กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนซอยปลาเค็ม
รหัส กองทุน 91990009
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนซอยปลาเค็ม เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นายสุชาติ ปราณสุข
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ 13 มีนาคม 2546 ได้รับเงินล้าน เมื่อ 1 เมษษยน 2546
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 30 พฤศิกายน 2550 หมายเลข 089
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี 103 คน (ชาย 37 คน หญิง 63 คน)

การกู้ยืม
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม 110 ราย
จำนวนเงินกู้รวม 1823520 บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ 10 ราย เป็นเงิน 212000 บาท
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ 72 ราย เป็นเงิน 1611520 บาท

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลบางส่วนสูญหาย
- สมาชิกไม่ชำระเงิน
- คณะกรรมการมีงานประจำที่ต้องทำ
- ขาดความรู้ด้านบัญชี และการจัดการทั่วไป


ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน
- ต้องการเจ้าหน้าที่ไกล่เกลี่ยผู้ค้างชำระ

อ่านต่อ...

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนโคกพยอม

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนโคกพยอม
รหัส กองทุน 91990001
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนโคกพยอม เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นางพเยาว์ ปะลาวัน
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ 5 มิถุนายน 2544 ได้รับเงินล้าน เมื่อ 20กุมภาพันธ์ 2545
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม 2545 หมายเลข 073
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี 91 คน (ชาย 45 คน หญิง 46 คน)

การกู้ยืม
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม 78 ราย
จำนวนเงินกู้รวม 1070860 บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ 6 ราย เป็นเงิน 103600 บาท
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ 72 ราย เป็นเงิน 1032820 บาท

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลบางส่วนสูญหาย
- สมาชิกไม่ชำระเงิน
- คณะกรรมการมีงานประจำที่ต้องทำ
- ขาดความรู้ด้านบัญชี และการจัดการทั่วไป

ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน

อ่านต่อ...

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนบ้านหัวทาง

กองทุนหมูบ้านและชุมชนเมือง ชุมชนบ้านหัวทาง
รหัส กองทุน 91990006
ที่ตั้ง อาคารเอนกประสงค์ ชุมชนบ้านหัวทาง เทศบาลเมืองสตูล
ประธานกองทุน นายมนิช จินดา
กองทุนจัดตั้งขึ้นวันที่ 20 มีนาคม 2546 ได้รับเงินล้าน เมื่อ 1 เมษายน 2546
จดทะเบียนนิติบุคคล เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2552 หมายเลข 087
สมาชิกกองทุน ณ วันที่ 1 สิงหาคม 2552 มี 113 คน (ชาย 62 คน หญิง 51 คน)

การกู้ยืม
จำนวนสมาชิกที่กู้ยืม 93 ราย
จำนวนเงินกู้รวม 1828000 บาท
สมาชิกที่สามารถชำระคืนได้ครบ 24 ราย เป็นเงิน 390000 บาท
สมาชิกที่ไม่สามารถชำระคืนได้ครบ 69 ราย เป็นเงิน 1436000 บาท

ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงานของกองทุนฯ
- ข้อมูลบางส่วนสูญหาย
- สมาชิกไม่ชำระเงิน
- คณะกรรมการมีงานประจำที่ต้องทำ
- ขาดความรู้ด้านบัญชี และการจัดการทั่วไป

ข้อแนะนำของกองทุน
- ให้ส่วนกลางเข้ามามีส่วนร่วมกับการจัดการกองทุน
- เพิ่มเงินกู้

อ่านต่อ...

เครือข่ายกองทุนหมู่บ้าน ตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล


ประวัติ ตำบลพิมาน
บ้านพิมาน ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล ถูกยกฐานะขึ้นตามพระราชกฤษฎีกาเป็น “ เทศบาลเมืองสตูล” เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2479 มีพื้นที่รับผิดชอบ 1.196 ตารางกิโลเมตร และต่อมา เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2513 ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนแปลงเขตเทศบาลเมืองสตูลเพื่อให้เหมาะสมกับการบริหารกิจการและการบำรุงท้องถิ่น โดยโอนท้องที่หมู่ที่ 1, 2 และ 3 ตำบลคลองขุด อำเภอเมืองบางส่วนเข้ามารวมเป็นเขตเทศบาล รวมเนื้อที่ 6.8 ตารางกิโลเมตร

ลักษณะที่ตั้ง
เทศบาลเมืองสตูล ตั้งอยู่ภาคใต้ตอนล่าง ด้านทิศตะวันตก ติดกับชายฝั่งทะเลอันดามัน มีพื้นที่ปกครองทั้งหมด 6.8 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ในตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูลอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 973 กิโลเมตร เป็นจังหวัดที่มีพื้นที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย

อาณาเขต
เทศบาลเมืองสตูล มีอาณาเขตติดต่อดังนี้
ทิศเหนือ : ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด
ทิศใต้ : ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด
ทิศตะวันออก : ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลคลองขุด
ทิศตะวันตก : ติดต่อกับองค์การบริหารส่วนตำบลควนขัน ลักษณะ

ภูมิประเทศ
เทศบาลเมืองสตูล มีลักษณะพื้นที่เป็นที่ราบสูงกลางเมือง แล้วลาดต่ำลงสู่ชายฝั่งทะเล อันดามัน ทำให้เกิดลำคลองเป็นจำนวนมาก เทศบาลเมืองสตูลล้อมรอบด้วยลำคลอง 3 สาย คือ คลองมำบัง คลองเส็นเต็น และคลองตายาย มีภูเขาอยู่ในเขตเทศบาล 2 ลูก คือ เขาโต๊ะหยงกง และเขาโต๊ะพญาวัง

ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะภูมิอากาศในพื้นที่ ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัดผ่าน อ่าวไทย และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ จากมหาสมุทรอินเดีย ลักษณะภูมิอากาศ เป็นแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน และฤดูฝน โดยมีช่วงฤดูฝน ยาวนาน 8 เดือน ระหว่างเดือน พฤษภาคม – ธันวาคม และมีช่วงฤดูร้อนเพียง 4 เดือน คือ เดือนมกราคม – เดือนเมษายน ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย ประมาณ 2,388.99 มม. อุณหภูมิเฉลี่ย อยู่ในช่วง 27.6- 28.4 องศาเซลเซียส

กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
ตำบลพิมานมีกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง 9 แห่ง ดังนี้
- กองทุนฯ ชุมชนโคกพยอม (นิติบุคคล)
- กองทุนฯ ชุมชนบ้านหัวทาง (นิติบุคคล)
- กองทุนฯ ชุมชนคลองเส็นเต็น
- กองทุนฯ ชุมชนท่าไม้ไผ่
- กองทุนฯ ชุมชนศาลากันตง
- กองทุนฯ ชุมชนซอยปลาเค็ม (นิติบุคคล)
- กองทุนฯ ชุมชนวัดชนาธิปเฉลิม
- กองทุนฯ ชุมชนทุงเฉลิมสุข ฝั่งตะวันตก
- กองทุนฯ ชุมชนทุงเฉลิมสุข ฝั่งตะวันออก (นิติบุคคล)

อ่านต่อ...

สตูล สงบ สะอาด ธรรมชาติบริสุทธิ์


สตูล แม้เป็นเพียงจังหวัดชายแดนเล็ก ๆ บริเวณชายฝั่งทะเลอันดามันทางภาคใต้ของประเทศไทย แต่มีเกาะแก่งที่งดงามเป็นที่กล่าวขาน ทั้งยังอุดมด้วยธรรมชาติป่าเขาที่สมบูรณ์ ประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิม

สตูลอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ 973 กิโลเมตร มีพื้นที่ 2,478 ตารางกิโลเมตร มีชายฝั่งทะเลยาว 80 กิโลเมตร สภาพภูมิประเทศโดยทั่วไปเป็นเนินสูง มีที่ราบป่าเขา ห้วยลำธารในเขตภาคตะวันออกของจังหวัด ตอนกลางใกล้ชายทะเลเป็นที่ราบ มีภูเขาและที่ราบลุ่ม ส่วนชายฝั่งทะเลเป็นที่ราบและป่าชายเลนน้ำท่วมถึง มีป่าโกงกางและไม้แสมมาก นอกจากนี้ในเขตจังหวัดสตูลยังมีหมู่เกาะต่างๆ อีกกว่าร้อยเกาะ ที่รู้จักกันดีได้แก่ หมู่เกาะตะรุเตา เกาะอาดัง-ราวี และหมู่เกาะเภตรา


สตูล แบ่งออกเป็น 7 อำเภอ คือ อำเภอเมือง อำเภอควนโดน อำเภอท่าแพ อำเภอควนกาหลง อำเภอละงู อำเภอทุ่งหว้า และอำเภอมะนัง

อ่านต่อ...

รู้จักกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง



ความเป็นมา
"กองทุนหมู่บ้าน" ไม่ใช่เงิน !"กองทุนหมู่บ้าน" เป็นอะไรที่ใหญ่โต และมีคุณค่ายิ่งกว่าเงินมากนัก
กองทุนนี้ประกอบด้วย ทุนที่เป็นคนแต่ละคน ทุนทางสังคมที่ถักทอคนแต่ละคนมาเป็นกลุ่มคนหรือสังคม ทุนทางวัฒนธรรม คือวิถีชีวิตร่วมกันของกลุ่มคนที่บรรสานสอดคล้องกับสิ่งแวดล้อม ทุนทางศีลธรรม หมายถึงความถูกต้องแห่งการอยู่ร่วมกัน เช่น ความเอื้ออาทรต่อกัน ความเชื่อถือและไว้วางใจกันได้ ความสุจริต ความเสียสละ ทุนทางทรัพยากร เช่น ดิน น้ำ ป่า อากาศ ไร่นา วัวควาย ที่มีการอนุรักษ์ มีการใช้อย่างเป็นธรรมและยั่งยืน ทุนทางปัญญา ได้แก่การเรียนรู้ร่วมกันในการปฏิบัติและนำเอาความรู้ที่มีอยู่ในชุมชน และความรู้จากภายนอกชุมชน มาสังเคราะห์เป็นปัญญาและการจัดการเพื่อให้การอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับคน คนกับธรรมชาติ และระหว่างชุมชนกับโลกภายนอกชุมชน เป็นไปอย่างรักษาความสมดุลไว้ได้ เพื่อความเป็นปรกติและยั่งยืน ทุนที่เป็นเงิน อันช่วยกันออมไว้เพื่อให้กระบวนการออมและการจัดการรวมทั้งตัวเงิน เป็นเครื่องกระตุ้นและส่งเสริมสร้างทุนที่ไม่ใช่เงิน
ทุนที่ไม่ใช่เงิน คือ คน สังคม วัฒนธรรม ศีลธรรม ทรัพยากร และ ปัญญา ถูกถักทอเข้าด้วยกัน "คุณค่าที่ไม่ใช่เงิน" (nonmonetary values) คือความใกล้ชิด ความเอื้ออาทรต่อกัน ความไว้เนื้อเชื่อใจ ความสุจริต ความเสียสละ คุณค่าที่ไม่ใช่เงินนี้มีพลังผูกพันเข้าไว้ด้วยกัน คุณค่านี้อาจเรียกว่าเป็น "ธรรมะแห่งการถักทอ"

ชุมชนจะก่อตัวขึ้นมาเองด้วย "ธรรมะแห่งการถักทอ" งอกงามและเติบโตไปโดยธรรมชาติ เป็นองค์กรโดยธรรม องค์กรโดยธรรมทำให้ทุกคนมีความสุขและสร้างสรรค์อย่างยิ่ง ตรงกันข้ามกับองค์กรโดยอำนาจที่ใช้กันโดยทั่วไปไม่ว่าในทางการเมือง ราชการ การศึกษา ศาสนา หรือธุรกิจ ซึ่งบีบคั้น ไม่สร้างสรรค์ และก่อให้เกิดความเครียด

อำนาจและเงินที่เข้าทำลาย "คุณค่าที่ไม่ใช่เงิน" และทำลายความเข้มแข็งของชุมชน หรือทำให้ความเป็นชุมชนไม่เกิดขึ้น แต่ถ้าเข้าใจใช้เงินให้ไปหนุนคุณค่าที่ไม่ใช่เงินเงินก็มีประโยชน์ในการส่งเสริมความเข้มแข็ง ของชุมชนได้
ผู้ที่เข้าไปทำงานชุมชนจะมีแต่เจตนาดีอย่างเดียวไม่ได้ทั่วโลกประสบความล้มเหลวในการแก้ไขความยากจนของคนชนบทเพราะอาศัยแต่เจตนาดีและเงินมหาศาลความเข้าใจธรรมชาติของการก่อตัวเองของชุมชนเข้มแข็งเป็นสิ่งสำคัญถ้าช่วยกันทำความเข้าใจก็จะเกิดอานิสงฆ์
มหาศาล ที่ทำให้ประเทศชาติรอดพ้นจากสภาวะวิกฤต
- ประเวศ วะสี 24 มิถุนายน 2544 -

ปรัชญา
ปรัชญาของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ๑) เสริมสร้างสำนึกความเป็นชุมชนและท้องถิ่น๒) ชุมชนเป็นผู้กำหนดอนาคต และจัดการหมู่บ้านและชุมชนด้วยคุณค่าและภูมิปัญญาของตนเอง๓) เกื้อกูลประโยชน์ต่อผู้ด้อยโอกาสในหมู่บ้านและชุมชน๔) เชื่อมโยงกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างชุมชน ราชการ เอกชนและประชาสังคม๕) กระจายอำนาจให้ท้องถิ่น และพัฒนาประชาธิปไตยพื้นฐาน

วัตถุประสงค์กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
๑) เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน สำหรับการลงทุน
• พัฒนาอาชีพ สร้างงาน
• สร้างรายได้ หรือ เพิ่มรายได้
• ลดรายจ่าย
• บรรเทาเหตุฉุกเฉิน และจำเป็นเร่งด่วน
๒) ส่งเสริมและพัฒนาหมู่บ้านและชุมชนเมืองให้มีขีดความสามารถ
• จัดระบบเงินกองทุน
• บริหารจัดการเงินกองทุน
๓) เสริมสร้างกระบวนการพึ่งพาตัวเองของหมู่บ้านและชุมชนเมือง
• การเรียนรู้
• การสร้างและพัฒนาความคิดริเริ่ม
• เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมเศรษฐกิจพอเพียง
๔) กระตุ้นเศรษฐกิจในระดับฐานราก
• เสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางเศรษฐกิจและสังคมในอนาคต
๕) เกิดศักยภาพ / ความเข้มแข็งของประชาชนในหมู่บ้าน / ชุมชนเมือง
• เศรษฐกิจ
• สังคม

ศึกษาเพิ่มเติม > http://www.villagefund.or.th/

อ่านต่อ...